วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุปความรู้ Thai teachers โทรทัศน์ครู

Thai teachers โทรทัศน์ครู: การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เสริมสร้างทักษะชีวิต: ดร.ชบา พันธุ์ศักดิ์ รร.วัดพระธาตุ
จ.สุพรรณบุรี มุ่งให้เด็กๆเรียนรู้ทักษะชีวิต มากกว่าการอ่านเขียนเรียนเลข

ขั้นที่ 1 เข้ากลุ่มตั้งคำถาม
ลักษณะของการนำเข้าสู่การเรียน กระตุ้นให้เด็กอยากรู้เรื่องรองเท้า สอบถามความรู้เดิมของเด็กว่าเรื่องรองเท้าเด็กรู้อะไร ปฏิบัติอย่างไรมาแล้วมีเรื่องอะไรที่เด็กอยากรู้เพิ่มเติม
ขั้นที่ 2 พวกเราตามไปดู
พาเด็กไปดูสถานที่ผลิตรองเท้าจริงในชุมชน เมื่อเด็กสงสัยอะไรให้เด็กถามในสิ่งที่เด็กอยากรู้โดยมีผู้ผลิตรองเท้าเป็นคนตอบคำถามของเด็ก เด็กจะได้เห็นวิธีการผลิตรองเท้าหลายๆแบบและรู้จักคำศัพท์ที่แปลกใหม่ทำให้เกิดความสนุกที่จะเรียนรู้
ขั้นที่ 3 ช่วยกันทบทวนข้อความรู้
ครูและเด็กช่วยกันทบทวนข้อความรู้ ว่าเราไปไหน ไปด้วยอะไร เช่นการเดินไปแล้วเจอหมาสิ่งเหล่านี้คือทักษะชีวิต ในขณะเดียวกันครูต้องทบทวนความรู้เพิ่มเติมให้เด็ก ช่วยกันสรุปและทบทวนว่ารองเท้าทำยังไง วิธีการทำรองเท้าแต่ล่ะขั้นตอนเรียกว่าอะไร
ขั้นที่ 4 สรุปว่าหนูจะนำอะไรไปใช้
จะเน้นกระบวนการทำงานเป็นทีม จะมีวิธีการให้เด็กนำเสนอคือ การปั้น การวาด การจัดป้ายนิเทศ เด็กจะมีกระบวนการในการทำงานเป็นกลุ่มจะเน้นทักษะเชิงสังคม ให้เด็กเข้ากลุ่มทำงาน จากนั้นก็ให้เด็กนำเสนอเป็นการทบทวนว่าสรุปแล้วเด็กจะได้องค์ความรู้ที่เด็กต้องการหรือไม่
ขั้นที่ 5 ไหนลองทำดูสิ
เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการประยุกต์ใช้ เด็กจะได้ลงมือปฎิบัติ ได้สร้างชิ้นงาน ได้ประดิษฐ์ ได้คิดค้น จึงได้มีการออกแบบกิจกรรม เป็นศูนย์การเรียนรู้ คือ
ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 การดูแลรองเท้า
ให้เด็กรู้จักอุปกรณ์และวิธีการดูแลรองเท้า จากนั้นให้เด็กลงมือปฏิบัติเอง
ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 การออกแบบรองเท้า
ให้เด็กใช้ความคิดในเรื่องของจินตนาการ ว่าเด็กอยากจะทำรองเท้าแบบไหนโดยการให้เด็กวาดรูปรองเท้า
ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 การทำรองเท้าแตะ
ครูเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น หูรองเท้า พื้นรองเท้าที่หลากสี เพื่อให้เด็กเลือก ซึ่งเด็กจะต้องใช้การตัดสินใจในการเลือก และสิ่งที่เด็กได้เลือกนั้นเด็กจะมีเหตุผลในการเลือก
หลังจากที่เด็กได้เรียนรู้แล้ว เด็กที่เคยขี้อาย ไม่กล้าพูดสามารถกลับไปเล่าสิ่งต่างๆที่ได้ไปเรียนรู้มาอย่างภาคภูมิใจและรู้จักที่จะเลือกและตัดสินใจด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องมีใครมาเลือกหรือตัดสอนใจให้

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 27/09/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้สรุปเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย คือ
-ความหมาย
-ความสำคัญ
-หลักการจัด
-การเขียนแผน
-วิธีการเรียนรู้
-พัฒนาการ
-สาระสำคัญ
-ประโยชน์
-การเขียนแผน
-การเขียนโครงการ
-การบูรณาการ
-การใช้คำถาม
-วิธีการประดิษฐ์ของเล่นวิทย์
-กิจกรรมวิทย์ กระบวนการ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
-ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การจำแนก
สำหรับบรรยากาศในห้องเรียนวันนี้เป็นไปได้ด้วยดีเพราะเพื่อนๆในห้องต่างช่วยกันสรุปความรู้ร่วมกัน
จากนั้นอาจารย์ได้นัดสอบวันอังคารหน้า เวลา 09.00น.

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 20/09/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้ส่งแผนที่สั่งให้ไปเขียนในสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นอาจารย์ก็ตรวจดูแผนการสอนแล้วให้คำแนะนำในการเขียนแผนที่ถูกต้องและยกตัวอย่างให้ฟังไปพร้อมๆกัน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่าการเขียนแผนในขั้นสอน น่าจะนำเพลงหรือคำคล้องจองมาใช้ซึ่งจะดีกว่าการพูดคุยสนทนากันเฉยๆ จากนั้นก็มีเหตุการณ์ไม่ค่อยดีเกิดขึ้นเนื่องจากมีเพื่อนเป็นลมในห้องเรียน จึงทำให้อาจารย์หยุดทำการเรียนการสอนในทันที
บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ รู้สึกว่าไม่ค่อยสดชื่นเท่าไหร่ เพื่อนๆก็ดูเงียบเหงากันไปหมด ในห้องมีแต่ความเงียบไม่มีความครึกครื้นและไม่มีความสนุกสนาน แต่อาจารย์ก็เข้าใจว่านักศึกษาเหนื่อย จึงให้นักศึกษาถามในเรื่องที่ไม่เข้าใจและอาจารย์ก็อธิบายใหม่ให้ฟังอย่างชัดเจนขึ้น

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12 13/09/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคนสำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเนื้หาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยดังนี้
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น รู้จัก ชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ เช่น รู้จัก ครอบครัว ญาติ ชุมชน
3.ธรรมชาติรอบตัว เช่น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เช่น รู้จักสี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก
บูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์+สาระวิทยาศาสตร์
1.ศิลปะสร้างสรรค์
2.เกมการศึกษา
3.เล่นเสรี
4.เคลื่อนไหวและจังหวะ
5.เล่นกลางแจ้ง
6.เสริมประสบการณ์(เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด)
การเขียนแผน
จ. ลักษณะ รูปร่าง
อ. แหล่งที่มา
พ. ประโยชน์
พฤ. โทษ
ศ. การดูแลรักษา
จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายให้ไปเขียนแผนการสอนของตัวเองในแต่ล่ะวันมาส่งในคาบหน้า
บรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้ดิฉันรู้สึกดีและสนุกไปกับกาารเรียนและอากาศก็ไม่ร้อนค่ะ

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 06/09/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้ส่งงานที่ได้สั่งไปในคาบที่แล้ว คือคิดหน่วยการสอนและกิจกรรมที่จะจัดในแต่ล่ะวันให้เด็ก แต่การส่งงานในครั้งนี้ไม่ค่อยราบรื่นนัก เพราะอาจจะด้วยการที่ไม่เข้าใจคำสั่งจึงทำให้แต่ล่ะกลุ่มทำมาไม่เหมือนกัน โดยคำสั่งที่แท้จริงคือทำมาในรูปแบบของMy Mapping อาจารย์จึงให้กลุ่มที่ไม่มีMy Mapping ทำมาส่งในคาบหน้าและให้คำแนะนำว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรที่เด็กจะได้ทั้งทักษะและความรู้ในกิจกรรมเดียวกัน จากนั้นอาจารย์ได้เปิดวีดิโอ เรื่องความลับของแสงให้ดู ทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับความหมายและคุณสมบัติของแสงว่า แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วมาก แสงจะมีการเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียวไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง เราสามารถนำมาใช้ทำเป็นกล้องฉายภาพ ชนิดของวัตถุมี3ชนิดคือ วัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส และวัตถุทึบแสง วัตถุที่แสงทะลุผ่านได้คือวัตถุโปร่งแสงและวัตถุโปร่งใส ส่วนวัตถุทึบแสงๆไม่สามรถทะลุผ่านได้ การสะท้อนของแสง เช่นใช้กระจกเงาสะท้อนภาพของตุ๊กตาถ้าเพิ่มกระจกหนึ่งบานจะทำให้เงาของตุ๊กตาเพิ่มหนึ่งตัว หลักของการสะท้อนแสงสามารถมองเห็นวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หลักการหักเหของแสง แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิดกันทำให้แสงเกิดการหักเห แสงสีขาวที่เราเห็นประกอบไปด้วยสีต่าง7สีคือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง เมื่อแสงส่องผ่านละอองน้ำในอากาศทำให้เกิดรุ้งกินน้ำ เงาเป็นสิ่งที่คู่กับแแสงถ้าเราส่องไฟไปที่วัตถุจะทำให้เกิดเงาตรงข้ามกับวัตถุถ้าฉายแสงไปหลายทางก็จะเกิดเงาหลายๆด้าน เช่น การเล่นหุ่นเงา
บรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้ ดิฉันรู้สึกว่าการเรียนในวันนี้ตึงเครียดไปหน่อยไม่มีความสนุกสนานแต่เนื้อหาที่เรียนและได้รับในวันนี้ก็ถือว่ามีประโยชน์มากเพราะได้ความรู้เกี่ยวกับแสงในหลายๆเรื่องค่ะ